วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2558


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge):

       เล่นเกมกระตุ้นสมาธิ โดยให้นับเลขที่ละคนตามที่คุณครูชี้ที่ใครให้นับเลขต่อจากเพื่อนตามลำดับ แต่ถ้าถึงลำดับที่ห้ามพูดแต่ใช้การตบมือแทนใครที่เผอพูดจะต้องออกมาโดนทำโทษ :)



อาจารย์จะเป็นคนชี่ว่าใครนับเลขอะไรตามลำดับ




เพื่อนๆ ที่ถูกทำโทษจากการนับผิดเพราะไม่มีสมาธิ






เพลง Mary had a little lamb





กิจกรรม
ดีไซน์เนอร์ระดับโลกจากกระดาษหนังสือพิมพ์
- เครื่องประดับศีรษะ
- เสื้อ ไหล่
- เครื่องประดับแขนและนิ้ว
- กางเกง กระโปรง ผ้านุ่ง
- แผงหลัง
- รองเท้า
- อื่นๆ

เกณฑ์การตัดสิน
มโหฬาร ยิ่งใหญ่ ใส่ใจองค์ประกอบ ครอบคลุมความหมาย



ระดมความคิดในการออกแบบชุด




 ใส่ชุดให้นางแบบ





 นางแบบของทั้งสามกลุ่ม





สวยชนะเลิศกันทุกกลุ่มคะ :)



การนำไปใช้ (Applications): ความคิดสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ ได้เพลงเพิ่ม ได้การฝึกสมาธิในการเล่นเกม
การประเมิน (Assessment): 
ประเมินตนเอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้ดี ช่วยออกความคิดเห็นในการทำกิจกรรมดีไซน์เนอร์
ประเมินเพื่อน มีความสมัคคีในการทำกิจกรรมดี
ประเมินอาจารย์  สอนได้สนุกสนานไม่น่าเบื่อมีเกมและเพลงเข้ามาสอดแทรกในการสอดตลอด

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2558


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge): 
ทบทวนเพลง Incy Wincy spider และเพลง I love u You love me 
และเพิ่มเพลงใหม่อีกหนึงเพลงคือ  

เพลง London Bridge is falling down.




เล่นเกมทดสอบจิตใจจากหัวข้อเรื่อง ไร่สตอเบอร์รี่ ก่อนเข้าเนื้อหาที่จะเรียน




เข้าสู่เนื้อหา 




วิธีการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
"ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้"
แนวคิดทฤษฏีทางความคิดสร้างสรรค์
Guilford อธิบายโครงสร้างทางปัญญาของมนุษย์สามารถเป็นแบบจำลองได้ 3 มิติ
1. เนื้อหา ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด เช่น ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม
2.วิธีคิด กระบวนการทำงานของสมอง เช่น การรู้และเข้าใจ การจำ การคิดแบบเอกนัยคือความคิดที่คิดให้เยอะที่สุด ความคิดแบบเอกนัยคือคำตอบเดียวที่คิดว่าดีที่สุด
3.ผลของการคิด การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า เช่น หน่วย ระบบ จำพวก การเปลี่ยนแปลงรูป ความสัมพันธ์ การประยุกต์

เด็กปฐมวัยเรียนรู้ได้ดีมากในทฤษฏี Constructivism 
- เด็กเรียนรู้เอง
- เด็กคิดเอง
- ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- เด็กรู้สึกปลอดภัย
- ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
- ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
- ขจัดอุปสรรค
- ไม่มีการแข่งขัน
- ให้ความสนใจเด็ก

ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
- มีไหวพริบ
- กล้าแสดงออก
- มีอารมณ์ขัน
- มีสมาธิ
- อยากรู้อยากเหน
- รักอิสระ
- ช่างสังเกต


การนำไปใช้ (Applications) ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
การประเมิน (Assessment)
ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตั้งใจฟังครูผู้สอน
ประเมินเพื่อน  ตอบคำถามครูผู้สอนได้อย่างคล่องแคล่ว
ประเมินอาจารย์ ใช้คำถามทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาในชั้นเรียนได้ดี แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะน่าฟัง